บทความ (ตัวอย่างข้อมูล)

กรมประชาสัมพันธ์เริ่มก่อตั้งเมื่อ 3 พฤษภาคม 2476 ภายหลัง การเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบ ประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมาย สูงสุด ของประเทศ โดยมีชื่อ ในระยะเริ่มแรก ว่า "กองโฆษณาการ” และได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานโฆษณาการ” เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2476 และได้มีการพัฒนา ผลงาน มาเป็นลำดับ โดยมี การปรับปรุง และขยาย ความรับผิดชอบ เพิ่มขึ้นทุก ๆ ระยะ ตามความ เจริญ ก้าวหน้า ทางวิชาการ สภาพของสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ตลอดจน นโยบายของรัฐบาล ในแต่ละสมัย และเปลี่ยนชื่อมาเป็น "กรมโฆษณาการ” เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2483 หลังจากนั้น 12 ปี ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมประชาสัมพันธ์” เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2495
3 พฤษภาคม 2476 ตั้งเป็น "กองการโฆษณา” โดยพระราชบัญญัติ จัดตั้งกระทรวงและกรม มีฐานะเป็น กรมอิสระ ขึ้นตรงต่อคณะรัฐมนตรี
9 ธันวาคม 2476 เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานโฆษณาการ” มีฐานะเป็นกรม หัวหน้าสำนักงาน เทียบเท่าอธิบดี แบ่งส่วนราชการเป็น 3 กอง คือ สำนักงาน เลขานุการกรม กองเผยแพร่ความรู้ และกองหนังสือพิมพ์ โดย ทำหน้าที่ หลัก 3 ประการ คือให้ข่าว และความรู้ แก่ประชาชน เพื่อป้องกัน ความเข้าใจผิด เกี่ยวกับรัฐบาล และประเทศ โดยส่วนรวม
31 มีนาคม 2481 โอนกิจการด้านช่าง และทะเบียนวิทยุ จาก กรมไปรษณีย์ โทรเลข มาขึ้นกับ สำนักงาน โฆษณาการ และมีการตั้ง โฆษณาการเขต ขึ้นเป็นเขตแรก ที่จังหวัด หนองคาย และ ที่จังหวัด พระตะบอง เป็นเขตที่สอง
5 กรกฎาคม 2483 เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมโฆษณาการ”และมีการตั้ง กองการ ต่างประเทศ เพิ่มขึ้น เพื่อติดต่อ และ โฆษณาการ เผยแพร่ ข่าวสาร ต่อชาว ต่างประเทศ
4 สิงหาคม 2490 โอนสำนักงาน ส่งเสริมการท่องเที่ยว จากกระทรวงคมนาคม มาขึ้นกับ กรมโฆษณาการ
8 มีนาคม 2495 เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมประชาสัมพันธ์” เพื่อให้เหมาะสมกับ ภาระหน้าที่ ในฐานะ แหล่ง การเผยแพร่ นโยบาย และ ผลงาน ของรัฐบาล รวมทั้ง เผยแพร่ ข่าวสาร การเมือง ศีลธรรม วัฒนธรรม ความรู้ และ ความบันเทิง ตลอดจน เป็นสื่อกลาง สร้างความสัมพันธ์ อันดี ระหว่าง รัฐบาล กับ ประชาชนด้วย
พ.ศ. 2497 ตั้ง "สำนักงานแถลงข่าวไทยในต่างประเทศ” ขึ้นที่ลอนดอน และวอชิงตัน และได้จัดตั้ง กองประชา สัมพันธ์ ภาคพื้นที่ จังหวัด สุราษฎร์ธานี เป็นแห่งแรก ทำหน้าที่ เป็นหน่วยงาน สาขา ของ กรมประชาสัมพันธ์ ในภาคใต้ โดยเฉพาะ
1 มกราคม 2503 โอนสำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวไปรวมกับ องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ และเพิ่มหน่วยงาน ระดับกอง คือ กองสำรวจประชามติ เพื่อสำรวจ และรับฟัง ความคิดเห็น ของประชาชน
พ.ศ.2503 ได้มีการติดตั้ง "กองประชาสัมพันธ์เขต" ขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น ลำปาง และสงขลา เพื่อเป็นหน่วยงานสาขาของกรมประชาสัมพันธ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ตอนล่าง
20 ตุลาคม 2504 ตั้ง "โรงเรียนการประชาสัมพันธ์" ขึ้นในสังกัดกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อเผยแพร่วิชาความรู้และส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาการประชาสัมพันธ์ และการติดต่อสื่อสาร
พ.ศ.2513 ตั้ง "สำนักงานแถลงข่าวไทยขึ้นที่พนมเปญประเทศเขมร" ปัจจุบันยกเลิกไปแล้ว
21 สิงหาคม 2518 มีพระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการบริหารส่วนกลาง และราชการส่วนภูมิภาค ของกรมประชาสัมพันธ์ใหม่ โดยมีหน่วย ระดับกอง 15 หน่วยงาน
มิถุนายน 2521 ตั้ง "สำนักงานแถลงข่าวไทยที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย"
1 มกราคม 2522 ตั้ง "สำนักงานแถลงข่าวไทยที่เจดดาห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย
17 กันยายน 2526 ตั้ง "ศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต 4 สุราษฎร์ธานี" เพิ่มขึ้น 1 แห่ง
7 สิงหาคม 2529 มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมประชาสัมพันธ์ ออกเป็นราชการบริหารส่วนกลาง(20หน่วยงาน)และราชการบริหารส่วนภูมิภาค (สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด)โดยเพิ่มหน่วยงานใหม่คือ กองงานคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ,ศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต5-8, และวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11
วันที่ 26 มีนาคม 2540 มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมประชาสัมพันธ์ โดยแบ่งเป็นราชการบริหารส่วนกลาง 22 หน่วยงานและราชการบริหารส่วนภูมิภาค (สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด 75 จังหวัด)


image รูปภาพ
image
image
image
image
image

image วิดีโอ

ไฟล์เอกสารประกอบ
ตัวอย่างแสดงผลไฟล์เอกสาร.pdf |

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar